อันความดีของพ่อนั้นสูงเกินกว่าภูเขา ส่วนความดีของแม่นั้นลึกล้ำยิ่งกว่าทะเล
[สุภาษิตญี่ปุ่น]0 ความคิดเห็น
past-present-phuture of sound
[+/-] |
passion quote |
อันความดีของพ่อนั้นสูงเกินกว่าภูเขา ส่วนความดีของแม่นั้นลึกล้ำยิ่งกว่าทะเล
[สุภาษิตญี่ปุ่น]
0 ความคิดเห็น
[+/-] |
[passion fun] keyword consideration!! |
ปกติแล้ว ผมกับซังมักเข้าไปดู stat ของเว็บเสมอ และช่วงหลัง ๆ ก็มีอะไรให้ผมขำอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะ "มิยาบิ" เป็นคีย์เวิร์ดที่นำคนเข้ามาเว็บนี้ซักพักหนึ่งแล้ว และในสัปดาห์นี้ ผมเข้าไปแอบดูอีกครั้งหนึ่ง!!
ลองคลิกเข้าไปดูแล้วกันครับ มันฮามาก ๆ เล้ยยย
0 ความคิดเห็น[+/-] |
ผู้ชนะ-ผู้แพ้ในโลกแห่ง Digital Media ปี 2006 |
เป็นธรรมดาที่ช่วงส่งท้ายปีที่บรรดาสื่อต่าง ๆ ได้ทำการรวบรวมสถิตต่าง ๆ ทั้งในด้านดี ด้านเสียของแต่ละวงการ ลองมาดู mp3newswire ประกาศรายชื่อผู้ชนะ ผู้แพ้ในโลกของ Digital Media ดูบ้าง
ผู้ชนะพาเลซกันมาตั้งแต่พวกเว็บ 2.0 อย่าง YouTube.com-MySpace ที่ถูกอากู๋ซื้อ เรียบร้อยโรงเรียน Google รวมทั้งไฟล์แชร์ริ่งอย่าง BitTorrent/Azureus รวมทั้งเว็บแทรคเกอร์สัญญาณชาติสวีเดนอย่าง Pirate Bay ที่ต่อสู้กับกฏหมายอย่างหนักและกลับมาอย่างสง่าผ่าเผย รวมไปถึง Apple ที่ดวงขึ้นอย่างมาก ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งยอดขาย ipod และเพลง+หนังผ่าน iTunes ก็วิ่งกระฉูด ในปีหน้าก็จะมีโปรเจกต์ใหม่ ๆ อย่าง Wireless Set Top Box สำหรับชมรายการทีวีของ iTV (อันนี้บ้านเราไม่เกี่ยว) รวมไปถึงการดีลกับสายการบินต่าง ๆ เพื่อให้ที่นั่งแต่ละที่มี iPod Dock ซึ่งมาตรฐานของ iPod กำลังล้ำหน้าผู้ผลิตรายอื่นไปเรื่อย ๆ ที่ตลกเล็ก ๆ คือ Creative ผู้ซึ่งชนะคดีสิทธิบัตรของ iPod ได้เศษตังค์จาก Apple ไป $100 ล้าน ก็ติดรายชื่อเป็นผู้ชนะกับเค้าด้วย
และสำหรับนักดนตรีแนว ๆ ก็ต้องร่วมแสดงความยินดีกับ DJ Danger Mouse (Brian Burton) ผลงานของเค้าในปี 2004 อย่าง Gray Album (งานรีมิกซ์ระหว่าง Black Album ของ Jay-Z กับ White Album ของ The Beatle) ซึ่งทาง EMI ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์พยายามที่จะหยุดยั้งการเผยแพร่ แต่ก็ต้องแพ้อิทธิพลของอินเตอร์เนตไป ส่งผลให้เค้าเคยติดรายชื่อเป็นผู้ชนะในปี 2004 ไปก่อนแล้ว และในปีนี้เอง ผลงานที่เค้าทำร่วมกับ Gnarls Barkley อย่าง Crazy ก็เป็นเพลงแรกที่ขึ้นอันดับหนึ่งของทาง UK ที่ขายผ่านการดาวน์โหลดเพียงอย่างเดียว และติดอันดับสองบนชาร์ทของทาง US อีกต่างหาก ส่งผลทำให้เค้าเป็นศิลปินคนแรก ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงโดยใช้อินเตอร์เนตเป็นช่องทางโปรโมทแต่เพียงอย่างเดียว
ส่วนทางด้านผู้แพ้นั้นมีประเดนหน้าสนใจคือบรรดาสิ่งที่ทำมาเพื่อความถูกต้อง (ในมุมมองของคนขายเพลง) อย่าง Sharman Networks-Captain Copyright-Digital Rights Management (DRM) รวมไปถึงระบบ Antipiracy ของทาง Sony ที่ครั้งนึงเคยเป็นความหวังอันริบหรี่ของทางค่ายเพลง เพราะมันทำมาเพื่อป้องกันการแชร์ไฟล์ แต่กลับกลายเป็นสร้างปัญหาให้กับลูกค้านักฟังเพลงมากยิ่งกว่า ซ้ำยังถูกเหล่าแฮกเกอร์พากันแฮกค์จนไม่เหลือความขลังอีกต่อไป แม้วันนี้มันจะยังอยู่ แต่ก็เป็นกรณีศึกษาไว้ว่า นักฟังเพลงอย่างเรา ๆ ไม่ชอบมัน และไม่ต้องการให้มันมีอยู่อีกต่อไป
ที่น่าสงสารที่สุดคือ Sony เพราะนอกจากจะแพ้คดีเรื่องซอฟต์แวร์ Antipiracy ใน CD ของ Sony BMG โดนปรับไปกว่า $1.4 ล้านแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ ต้องเปลี่ยนใหม่ให้กับลูกค้า มูลค่ากว่าพันล้าน ซ้ำร้าย Blu-Ray ที่ Sony ผลักดันมาตั้งแต่ต้น ถูกรวมอยู่ในกลุ่มผู้พ่ายแพ้ด้วย พร้อม ๆ กับทาง HD-DVD ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานับปีกว่าที่เหล่าผู้บริโภคทยอยเปลี่ยนไปใช้กันเยอะขึ้น
ที่น่าตลกสำหรับนักดนตรีคือ OLGA - Online Guitar Tablature Archive ก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้พ่ายแพ้ เนื่องจากการปิดตัวไปอีกครั้งเพราะบรรดาค่ายเพลง ที่ว่าตลกก็เพราะว่าหากเรามองดูโปรเกรสชั่นของคอร์ดของเพลงฮิต ๆ ส่วนใหญ่ รวมไป 95% ของเพลงร็อคจะใช้คอร์ดสามัญไม่เกิน 3 คอร์ดหรืออย่างมากก็ 5-6 คอร์ดแค่นั้น แต่ถ้าเหล่านำมันมาเผยแพร่บนอินเตอร์เนต เราก็ต้องจ่ายเงินให้กับเจ้าของลิขสิทธ์เพลงด้วย ท่านผู้อ่านว่ามันตลกสิ้นดีไหมล่ะครับ..?
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ mp3newswire
0 ความคิดเห็น
[+/-] |
[DIY Fun] Computer Art:ลองรันสคริปต์นี้บน IE ดูครับ |
เปิด IE ขึ้นมาก่อน->เปิดเว็บ passionsound แล้วลองใส่สคริปต์นี้ลงใน Address
javascript:R=0; x1=.1; y1=.05; x2=.25; y2=.24; x3=1.6; y3=.24; x4=300; y4=200; x5=300; y5=200; DI=document.images; DIL=DI.length; function A(){for(i=0; i<DIL; i++){DIS=DI[ i ].style; DIS.position='absolute'; DIS.left=Math.sin(R*x1+i*x2+x3)*x4+x5; DIS.top=Math.cos(R*y1+i*y2+y3)*y4+y5}R++}setInterval('A()',5); void( 0 );
จากนั้นก็คลิกปุ่ม "Go"
เราจะเห็นอะไรสนุก ๆ แก้เบื่อได้ชั่วครู่ หรือเอาไปหลอกสาวโต๊ะข้าง ๆ ก็ได้นะ อิอิ
0 ความคิดเห็น[+/-] |
Vista Audio พร้อมกันหรือยังครับ? |
หลายคนคงได้ทดลองติดตั้งและเล่น Windows Vista ในรุ่น Pre-release ของทาง Microsoft กันแล้ว ซึ่งรวมไปถึงบรรดาผู้ผลิตซอฟต์แวร์ดนตรีทั้งหลายที่ต้องทดสอบโปรแกรมของตัวเองก่อน เพื่อจะได้อัพเดททันวันที่ Vista เปิดตัวอย่างเป็นทางการ และทาง Propellerhead ขวัญใจของพวกเราได้เป็นผู้ผลิตรายแรกที่ประกาศรองรับ Vista อย่างเป็นทางการด้วยการ Approved จาก Microsoft ไปเรียบร้อย
ซอฟต์แวร์หลักอย่าง Reason, Recycle, Reload มากันอย่างพร้อมหน้า ส่วน REX/ReWire พบปัญหานิดหน่อย ซึ่งต้องใช้ Installer ตัวใหม่ และมีของแถมนิดหน่อยสำหรับผู้ใช้ Reason นั้นก็คือ Free Madness Modolar ReFill
เป็นซาวน์แวร์ที่สร้างโดย Jame Bernard โดยเสียงแต่ละเสียงมาจากการต่อโมดูลแต่ละตัวบน Reason เอง น่าเสียดายอยู่หน่อยตรงที่มันเป็นเสียงสำเร็จรูปแล้ว ไม่ได้ให้ Patch มาด้วย
และของฝากสุดท้ายคือตารางเปรียบเทียบ Vista ในแต่ละรุ่น ถ้าถามผมเหรอ...? ผมไม่ชอบเป็นประชากรชั้นสองอยู่แล้ว อิอิ
อย่างไรก็แล้วแต่ครับ การที่ Vista จะพร้อมจริง ๆ สำหรับงานดนตรีนั้น แค่ซอฟต์แวร์ดนตรีอย่างเดียวไม่พอ ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่น ๆ ต้องออกไดร์เวอร์มาสนับสนุนกันด้วยทั้งระบบ คาดว่าต้นเดือนหน้าคงมีการอัพเดทกันมาเรื่อย ๆ ผู้ใช้อย่างเรา ๆ ทำได้เพียงติดตามกันต่อไป ขอให้ผู้ผลิตทุก ๆ รายทำกันออกมาโดยเร็วครับ อย่าให้เหมือนกับหลายครั้งที่เราพบว่า ฮาร์ดแวร์ของเราไม่มีไดร์เวอร์สำหรับ System ใหม่เลยนะ มันน่าเศร้ามาก ๆ เลย...
ที่มา Propellerhead Software Vista Compatibility และ CDM
0 ความคิดเห็น[+/-] |
ASIO4All: Universal ASIO Driver |
ผมรู้จัก ASIO4All และใช้มันเป็นไดร์เวอร์หลักในการทำงานเพลงบนคอมพิวเตอร์แลปท๊อปมาตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน เพราะอย่างที่รู้กันว่าการ์ดออนบอร์ดเกือบทั้งหมดจะไม่สนับสนุน ASIO Driver จากนั้นก็แอบใช้โดยไม่ได้สนใจพัฒนาการของมันมาตลอด (ระหว่างที่ต้องนำแลปท๊อปออกไปเล่นงานนอก ก็โหลดมาใช้ทีนึง หรือถ้ามีอยู่แล้วก็ใช้ได้ทันที) จนเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมถอยชุดลำโพงมาใหม่ แล้วตั้งใจจะหาโซลูชั่นสำหรับใช้ซาวน์ออนบอร์ดไปพร้อม ๆ กับซาวน์การ์ดหลักตัวที่ใช้อยู่ เพราะเวลาเช็คงาน จะได้สลับเปลี่ยนกันได้ทันทีโดยไม่เสียเวลามาก เลยนึกถึง ASIO4ALL อีกครั้ง
หลังจากสำรวจ GUI ของเวอร์ชันล่าสุด ก็เข้าใจได้ทันทีว่ามาถูกทางแล้ว ผมสามารถใช้งานซาวน์การ์ดกี่ตัวก็ได้ในระบบ พร้อมกันในคราวเดียว ใครใช้ Windows อยู่ ดาวน์โหลดมาลองได้ครับที่ http://www.asio4all.com/ ส่วน Mac ไม่ต้อง เพราะ Core Audio มีความสามารถนี้ได้ในตัวเองเลย
2 ความคิดเห็น[+/-] |
iLive Digital Mixing Console จาก Allen & heath ชิปมกรานี้ |
ปีใหม่นี้ให้ของขวัญตัวเองและคนที่เรารักไปบ้างหรือยังครับ ทำงานมาเหนื่อย ๆ ผมก็ให้ของขวัญตัวเองไปบ้าง 2-3 ชิ้น ชิ้นนี้อยากได้ แต่ยังไม่มีงานที่ต้องการ Features ขนาดนี้
มันคือ Digital Mixing Console ตัวใหม่จาก Allen & health ออกแบบมาเพื่องาน Live จริง ๆ มันเริ่มเปิดตัวมาซักพัก แต่พบปัญหาที่ตัวซอฟต์แวร์ เพิ่งจะมาแก้เสร็จเมื่อเร็ว ๆ นี้ และต้นปีหน้าคงมีวางจำหน่ายแล้วแน่นอน
Features:
รายละเอียดเพิ่มเติม Allen & Heath iLive Digital Mixing Console
0 ความคิดเห็น[+/-] |
Live Tip: ป้องกันการกระโดดของคอนโทรลเลอร์ด้วย Take-Over Mode |
Take-Over Mode น่าจะเป็น Feature หนึ่งที่ผมชอบมากที่สุดใน Live 6 นอกเหนือจากการที่มันสนับสนุนคอนโทรลเลอร์หลาย ๆ ตัวอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะผมเองก็คิดหาการแก้ปัญหานี้มานานแล้ว ตั้งแต่เริ่มใช้คอนโทรลเลอร์เมื่อหลายปีก่อน
ปัญหาที่ว่าก็คือการกระโดดของคอนโทรลเลอร์ ยกตัวอย่าง เรากำหนดให้ปุ่มเลื่อนบนคีย์บอร์ด ควบคุมระดับความดังของแทรค หรือพูดให้ง่ายขึ้น ไปควบคุม Fader ของมิกเซอร์ในโปรแกรม ปัญหาดั้งเดิมก็คือหากเราเลื่อนปุ่มไปที่ประมาณ 0 dB แล้วดันไปใช้เมาส์เลื่อนเพิ่มไปอีก 3 dB พอเราไปจับปุ่มเลื่อนที่มันอยู่ที่ระดับ 0 dB Fader บนมิกเซอร์จะกระโดดไปที่ 0 dB ทันที!! ผลกระทบต่อเสียงคือการที่ระดับความดังดรอปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในการใช้งานอย่างการแสดงสดคงไม่ดีแน่
ทางแก้ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์คือการทำคอนโทรลเลอร์แบบ Motorized คือให้ซอฟต์แวร์ส่งสัญญาณควบคุมกลับมาได้ แล้ว Motor จะไปควบคุมปุ่มเลื่อนอีกทีหนึ่ง การแก้ปัญหาของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เท่าที่สังเกตเห็นก็มี Propellerheads ใช้วิธีการ Pick Up กล่าวคือตัว Fader บนมิกเซอร์จะไม่กระโดด แต่จะรอจนกว่าเราเลื่อนปุ่มเลื่อนไปจนเท่ากับตำแหน่งของมัน
ช่องทางแก้อีกหนึ่งอย่างของผุ้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ผมเห็นว่าเป็นวิธีการที่ฉลาด แต่เรียบง่ายจนผมเองก็คิดไม่ถึง นั่นคือ Value Scaling ครับ กล่าวคือหากตำแหน่งของปุ่มเลื่อนจริง ๆ กับ Fader บน Mixer ไม่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน เวลาที่เราทำการเลื่อนปุ่ม ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง Fader ก็จะขยับด้วยตามทิศทางเดียวกัน และจะมีการคำนวณให้การเลื่อนปุ่มกับตำแหน่งของ Fader เป็นไปอย่างนุ่มนวล ไม่มีการกระโดดให้เสียอารมณ์แต่อย่างใด
ทั้งสองวิธีนี้มีให้เราเลือกบน Take-Over mode อยู่ในหน้า MIDI Sync ที่ Preference ครับ ใครชอบถนัดแบบไหน ลองเลือกใช้ดูได้ ต่อไปเราจะเห็นซอฟต์แวร์ตัวอื่นใช้วิธีการเดียวกันนี้แน่นอน โชคดีที่เราใช้ Live เลยได้ใช้ Feature นี้ก่อนใคร!!
สนับสนุนบทความโดย The Absolute Sound & Stage
0 ความคิดเห็น[+/-] |
ควบคุม Live ผ่านมือถือ |
เล่นกับ Live ผ่าน PSP นั้นน่าสนุกดี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมี และที่แน่ ๆ ผู้ใช้ Live ทุกคนน่าจะมีมือถือกันนะ ลองมาดูซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุม Live ผ่านมือถือกันครับ
LiveController คือสคิปท์ที่เขียนโดย Jason R. Kramer สำหรับใช้กับโปรแกรม Sailing Clicker (ซอฟต์แวร์สำหรับใช้มือถือหรือ PDA เป็นรีโมทคอนโทรล รายละเอียด http://www.salling.com) โดยเราสามารถกำหนดคำสั่งได้มากที่สุด 15 คำสั่ง รวมคำสั่งพื้น ๆ อย่าง Play/Stop ให้กับมือถือเพื่อควบคุม Ableton Live ครับ ซึ่งมือถือแทบทุกรุ่นที่มี Bluetooth หรือ Wi-Fi แทบทุกรุ่นจากผู้ผลิตรายใหญ่ ต่างก็ใช้กับ Sailing Clicker ได้ ราคาของ Sailling Clicker นั้นอยู่ที่ $24 (Wins-Mac) ขณะที่สคิปท์ของ LiveController นั้นอยู่ที่ $2 ซึ่งจะว่าไปแล้ว คนทำยังมีสคิปท์สำหรับควบคุมซอฟต์แวร์อื่น ๆ อย่าง Logic-Protools ด้วย อีกไม่นานเราอาจเห็น DJ บ้านเรากำลังทำท่าจะโทรศัพท์ แต่ที่จริงกำลังกดปุ่มเล่น Live อยู่ก็ได้...
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://homepage.mac.com/deadrat/LiveController.html
0 ความคิดเห็น[+/-] |
ควบคุม Ableton Live แบบไร้สายด้วย Sony PSP |
เป็น Homebrew Software เช่นเคยครับ ดาวน์โหลดมาใช้กันได้ฟรีหากเรามี Sony PSP อยู่แล้ว ออกแบบและพัฒนาโดย Media Artist/Hacker: Rob King เค้าได้นำ GUI ของ Ableton Live มาย่อส่วนอยู่ภายในหน้าจอกว้าง ๆ ของ PSP เลย
Features:
· ควบคุมได้โดยไม่ต้องต่อสาย
· 8 แทรค
· ทริกเกอร์คลิปได้ 12 คลิปต่อแทรค
· X/Y Pad 4 ชุดสำหรับควบคุมเอฟเฟกต์
ใช้ได้กับ Windows เท่านั้น นอกจากการใช้ DsMidiWifi กับ DS แล้ว นี่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนมี PSP ครับ
ดาวน์โหลดและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://e-mu.org/?p=20
0 ความคิดเห็น[+/-] |
โต๊ะทำงานใหม่ -> เพลงใหม่ |
รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมบังคับตัวเองให้มาทำงานที่ออฟฟิสใหม่ อยู่ภายใน Science Park ในเขต ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต
เป็นออฟฟิสแบบ Open Space ทำงานร่วมกัน 4 คน ผมจึงต้องนำเซตอัพที่น้อยที่สุด ตามสมัยนิยมคนทุนน้อย หนึ่งลำโพง หนึ่งคอมพิวเตอร์ หนึ่งคีย์บอร์ด ที่ทรมานคือการที่การ์ดจอสนับสนุนแค่จอเดียว แต่ที่มากกว่านั้นคือการที่ผมไม่สามารถใช้ลำโพงได้ตลอดเวลา เพราะเกรงใจเพื่อน ๆ ต้องใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
นอกจากคอมพิวเตอร์ใหม่แล้ว ต้องขอขอบคุณ NI ที่ให้ยืม Battery กับ Massive มาใช้ในเพลงนี้ 2 เครื่องดนตรี 4 แทรค 3 รีเทิร์นบน Ableton Live กับการอิดิตอันแสนทรมาน ขอเชิญรับฟังได้เลยครับ
เป็นเพลงสั้นสำหรับใช้ในฉากคุยกันของตัวละคร ก่อนจะต่อสู้กันภายในเกม
ปล สัปดาห์หน้า ผมจะขน UF8 ตัวโปรดกับกีตาร์มาด้วยนะ เพื่อนร่วมงานว่าไง?
3 ความคิดเห็น[+/-] |
Waldorf ส่ง Nano Synth Card ออกสู่ตลาดเรียบร้อย |
เมื่อครึ่งปีที่แล้วมีข่าวให้เจ้าของคีย์บอร์ดตระกูล UF จาก CME ดีใจกันยกใหญ่ เมื่อ Waldorf ออกตัวว่าจะทำการ์ดเสริม Nano Synth สำหรับใส่ในคีย์บอร์ดตระกูล UF เพื่อให้เราสามารถเล่นเสียงได้ ไม่จำกัดแค่การใช้เป็น Keyboard Controller อีกต่อไป
คุณสมบัติ
· มีเสียงให้เลือกใช้กว่าพันเสียงยกมาจากรุ่น MicroQ
· โพลิโฟนีสูงสุด 24 เสียง
· มีพารามิเตอร์สำหรับปรับแต่งเสียงผ่านหน้าพาเนลของ UF เอง
· มีเอฟเฟกต์ให้เลือกใช้
· สเตอริโอไลน์เอาท์พุท นอยส์ต่ำ
· เอาท์พุทสำหรับเฮดโฟน
· ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ไฟน้อยมาก
· ติดตั้งง่าย และได้ถึง 2 ตัว ต่อคีย์บอร์ดหนึ่งตัวและเราสามารถทำการ Split และทำ Layer ได้ (เป็น Features ช่วยจาก UF เอง)
· ผลิตจากเยอรมัน
ราคาขายที่อเมริกา $349 ครับ ถ้า CME ทำออกมาเองน่าจะถูกกว่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม "ซื้อ" ครับ อยากโดน Waldorf มานานแล้ว!!
รายละเอียดเพิ่มเติม http://waldorfmusic.de/en/home
ที่มา Harmony Central
0 ความคิดเห็น[+/-] |
งานเพลงของ Mozart ทั้งหมด เป็นของฟรีเรียบร้อย... |
ตลกดีที่ไปเจอข่าวนี้ที่ slashdot ครับ ตอนนี้งานของ Mozart ทุกชิ้น เป็นของฟรีบนอินเตอร์เนตแล้ว แม้ว่างานเพลงคลาสสิคทุกวันนี้ก็มีอายุมากเกินกว่ากฏหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองแล้วก็ตาม แต่บรรดา Publisher ก็ยังอ้างสิทธิ์ในงานบางชิ้นที่นำมาทำใหม่อยู่ และตอนนี้ International Mozart Foundation ก็ได้สิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานทุกชิ้นของ Mozart บนอินเตอร์เนต ที่ฮาก็คือหลังจากได้สิทธิ์นี้ไม่นาน ทาง Foundation ได้ถูกขอให้เพิ่มพื้นที่ของ Server อย่างด่วนที่สุด!!
ปล. ผมเขียนชื่อของ Mozart เป็นภาษาอังกฤษ เพราะจำได้ว่าได้ยินคนออสเตรียชาติเดียวกับ Mozart เค้าออกเสียงเป็น "โม-เซิท"
0 ความคิดเห็น
[+/-] |
พัฒนาการที่ดีขึ้นของ Windows Vista ในส่วนของ Audio |
ในรอบปีที่ผ่านมา ต้องขอบคุณเทคโนโลยีของการเขียน Blog ทำให้เราได้มีโอกาสติดตามอ่านรายละเอียดมากมายที่นักพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ พยายามสื่อสารมายังผู้ใช้อย่างเรา ๆ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หลาย ๆ ตัวที่ผู้เขียนติดตามอยู่เสมอ อย่าง Google Analytic, Blogger, Windows Live Writer, ปลั๊กอินจากค่าย Audio Damage (ผู้ผลิต Audio Software รายอื่น น่าเอาเป็นเยี่ยงอย่าง) แต่ที่แน่ ๆ คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีหน้า Windows Vista ผู้เขียนก็ไม่พลาดที่จะติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน
อ้างอิงจาก Windows Vista Blog เรามาดูรายละเอียดต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นในเรื่องของเสียงกัน
อย่างแรกคือ มิกเซอร์สำหรับผสมเสียงจากโปรแกรมต่าง ๆ โดยเรียกใช้จาก System Tray ได้เลย (ส่วนตัวแล้วรอมานานมาก) อย่างที่สองคือระบบ Virtual Surround ซึ่งบน Vista จะเรียกว่า "Speaker Fill" ไม่ว่าเราจะใช้ลำโพงระบบไหน ก็จะเล่นบน Vista ได้อย่างเต็มที่ และสุดท้ายคือ Headphone Virtualization เพื่อจำลองเสียงรอบทิศทางในเฮดโฟน ซึ่งระบบนี้มีในซอฟต์แวร์ดีวีดีมาก่อนแล้ว นักดนตรีอย่างเรา ๆ สามารถสร้าง Content ที่สนับสนุนระบบนี้ได้โดยการใช้ปลั๊กอินจากค่าย Waveart ที่ชื่อ Panorama
ดูเหมือนว่ามันเป็นการพัฒนาเพื่อผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป แต่นักดนตรีอย่างเรา ๆ ก็ได้ใช้ประโยชน์จากมันแน่นอนอยู่แล้ว โดยเฉพาะข้อแรก (Mac OSX ก็ยังไม่มีมิกเซอร์แบบนี้) แต่ก็คงมีอีกหลาย ๆ อย่างที่พวกเราอยากเห็นบน Windows เช่น การทำไดร์เวอร์ประสิทธิภาพสูงแบบ Core Audio ที่เราสามารถใช้งาน Audio Interface หลาย ๆ ตัวได้พร้อมกัน ไปจนถึงการถอดเข้าถอดออกบ่อย ๆ โดยไม่ต้องเสียเวลา Reinstall Driver ใหม่ บอกตามตรงว่าผมทรมานมาก!!
0 ความคิดเห็น[+/-] |
Casio VL1 Emulator รำลึกความหลังในรูปแบบ VST (Windows) |
ยังจำคีย์บอร์ดตัวแรกในชีวิตได้หรือเปล่าครับ? ไม่รู้ว่าเราเป็นคนรุ่นเดียวกันหรือเปล่า แต่พ่อเคยซื้อ Casio VL Tone ให้ผมตอนเด็ก ๆ ยังจำเพลงสาธิตของมันได้เป็นอย่างดีทุกโน้ต...
เมื่อ 3 วันก่อนได้ข่าว VL1 Emulator จาก Blog ของ Future Music เอามาลองเล่นทันที พบว่าเค้าพยายามจำลองทุกอย่างแม้แต่ฟังก์ชันเครื่องคิดเลข แต่ก็ยังเจอบั๊กหลายจุด (ทดลองบน Ableton Live 6.01) ทำให้เสียอารมณ์นิดหน่อย ใครอยากลองรำลึกความหลัง ไปโหลดมาเล่นได้ฟรีที่ http://www.polyvalens.com/vl1/
Windows เท่านั้น มีคู่มือมาฝากด้วยครับ http://www.geocities.com/abcmcfarren/misc/vltone.htm
ใครทดลองบนระบบไหนแล้วเล่นได้ลื่น ลองส่ง Feedback กลับมา ส่วนผมขอไปสนุกกับ Massive ก่อนล่ะ...
0 ความคิดเห็น[+/-] |
Wii Remote: เครื่องดนตรีชิ้นใหม่ |
หลังจากเปิดตัวที่เมกามาประมาณหนึ่งเดือนแล้ว Nintendo Wii ก็ถูกเหล่าแฮคเกอร์รุมรื้อกันขนานใหญ่ เพื่อค้นหาสิ่งที่อยู่เบื้องหลังคอนโซลผู้เปลี่ยนโฉมการเล่นเกมของโลกตัวนี้ ประเดนสำคัญที่หลายคนอยากรู้คือ Wiimote ซึ่งเป็นคอนโทรลเลอร์ครับ โชคดีที่มันสื่อสารด้วย Bluetooth ทำให้เราสามารถใช้มันเป็นคอนโทรลเลอร์กับระบบอื่น ๆ ได้ อย่างตอนนี้ก็สนับสนุนทั้ง Windows, Mac OS, Linux ไปเรียบร้อย (Wiili Wiimote)
และอย่างที่หลายคนคาดหวังได้ เราจะได้คอนโทรลเลอร์ตัวใหม่สำหรับตีกลอง, เล่นดนตรีกันอย่างสนุกสนาน
ลองชมวิดีโอตัวอย่างดูก่อนครับ
อันแรกนี้ใช้ WiiMote ควบคุมพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของ Nord Lead
ส่วนอีกอันใช้ Wiimote ตีกลอง...
เว็บที่เกี่ยวข้อง
http://homepage.mac.com/ianrickard/wiimote/wiili_wimote.html
http://theoreticalplayground.co.uk/index.php/2006/12/07/wiimote-control/
http://www.bobsomers.com/2006/12/06/wii-drum-machine/
0 ความคิดเห็น[+/-] |
ระบบเสียงติดล้อที่อินเดีย |
อยากรู้ว่าบ้านเรามีแบบนี้ด้วยเปล่า...?
ที่มา MT
ปล รูปบนสุดที่ melbourne นะ ไม่ใช่อินเดีย
1 ความคิดเห็น
[+/-] |
Lemur: Robotic Musical Instrument |
“Lemur” หรือชื่อเต็มว่า “League of electronic musical urban robots” เป็นกลุ่มศิลปินและนักเทคโนโลยีย่าน Brooklyn ที่ช่วยกันพัฒนาหุ่นยนต์ดนตรี ก่อตั้งโดยนักดนตรีและวิศวกรนามว่า Eric Zinger (ใครเล่น Max/MSP คงรู้จักเค้าดี) อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่าคนกลุ่มนี้สร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเล่นเครื่องดนตรีที่มีอยู่แล้วนะครับ ตรงกันข้าม พวกเค้าสร้างหุ่นยนต์ที่เป็นเครื่องดนตรีในตัวเอง งานเหล่านี้นั้น ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าใช้ความรู้ เวลาและเงินทองมากแค่ไหน โชคดีที่มีผู้เห็นคุณค่าครับ พวกเค้าได้รับการสนับสนุนเงินจากหลาย ๆ แหล่ง ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิร๊อคกี้เฟลเลอร์, The New York State Councils on the Arts (NYSCA), The National Endowment for the Arts (NEA), The Greenwall Foundation, The Jerome Foundation and Arts International และได้มีผู้อุปถัมภ์หลักคือ Harvestworks Digital Media Arts Center
ผลงานของพวกเค้ามีหลากหลายมากครับ ที่เห็นในภาพคือส่วนหนึ่งจากทั้งหมด หากได้ชมวิดีโอจะเห็นภาพของอุปกรณ์แต่ละชิ้นได้ชัดเจนขึ้น งานที่โดดเด่นที่สุด คือ GuitarBot ครับ จุดประสงค์หลักของการสร้าง GuitarBot ก็คือ พวกเค้าต้องการสร้างกีตาร์ที่มีการเล่นแบบสไลด์ ใช้งานได้กว้าง ตอบสนองได้ดี เล่นได้ทั้งช้าและเร็ว ควบคุมง่าย เป็นระบบโมดูลล่าร์เคลื่อนย้ายสะดวก และที่สำคัญคือเสียงต้องดีด้วย พวกเค้ายังต้องการขยายขอบเขตการเล่นกีตาร์ที่มือกีตาร์ที่เป็นมนุษย์ไม่สามารถเล่นได้ด้วย (คงต้องไปคุยกับสตีฟ วายกับโจ แซทดูก่อนนะ)
ภาพที่ออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์
และกว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งหมดที่กล่าวมา พวกเค้าต้องออกแบบใหม่ถึง 3 ครั้ง โปรโตไทป์ตัวแรกใช้สายแค่เส้นเดียว กับโครงอลูมิเนียม และทำการทดลองกลไกของการสไลด์และการดีดสาย และก็ปรับเปลี่ยนแก้ไขจนตรงกับแนวคิดที่พวกเค้าต้องการจริง ๆ จากนั้นจึงเริ่มสร้างโมเดลบนโปรแกรม Vectorworks ซึ่งเป็นโปรแกรมออกแบบโมเดล 3 มิติตัวหนึ่ง พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนแก้ไขการออกแบบอีกนิดหน่อย และจึงเริ่มสร้างตัวที่สองออกมา หลังจากการทดสอบแล้ว ก็ยังต้องมีจุดปรับปรุงแก้ไขในบางจุด โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพของเครื่องดนตรี โดยเปลี่ยนการออกแบบในโปรแกรมแล้วนำไปสร้างตัวที่ 3 กว่าจะเสร็จออกมาอย่างที่เราเห็นในภาพครับ
GuitarBot เวอร์ชันสมบูรณ์
ในเวอร์ชันสมบูรณ์จะประกอบไปด้วยตัวกีตาร์ 4 ตัว แต่ละตัวจะมี 1 สาย ซึ่งกลไกของการสไลค์จะควบคุมโดย DC Servo Motor คอยขับเคลื่อนรอกและสายพานให้กับ Sliding Bridge ครับ
ส่วนกลไกของการดีดนั้น ประกอบไปด้วยปิ๊กกีตาร์ 4 ชิ้น ติดตั้งอยู่กับเพลาที่ควบคุมการหมุนโดย DC Servo Motor เช่นกัน ตำแหน่งของปิ๊กจะควบคุมด้วยเซนเซอร์แสงที่คอยอ่านค่าความเข้ม-สว่างของวงล้อที่อยู่ริมเพลา (ดูรูปประกอบ)
GuitarBot แต่ละตัว จะมีไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่นอกจากจะมีซอฟต์แวร์ควบคุมกลไกการทำงานบนตัว GuitarBot เองแล้ว ยังมีซอฟต์แวร์สำหรับรับสัญญาณ MIDI อีกด้วย ซึ่งวิธีนี้เอง นักดนตรีสามารถควบคุมการเล่นเสียงของ GuitarBot ผ่าน MIDI ไม่ว่าจะเป็นจากคีย์บอร์ดหรือจากโปรแกรมซีเควนเซอร์ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมพิเศษใด ๆ เลย ซึ่งหุ่นยนต์ดนตรีตัวอื่น ๆ ของทีม Lemur ก็ควบคุมด้วย MIDI ทั้งหมดเช่นเดียวกันครับ
GuitarBot แต่ละตัว จะทำการจูนแยกกันอิสระ มีระยะ Pitch 2 ออคเตฟ โดยความละเอียดของการจูนจะทำได้ในระดับเซนต์เลยทีเดียวครับ ตัว Sliding Bridge จะสามารถเลื่อนจากอีกฝั่งหนึ่ง ไปอีกฝั่งหนึ่งภายในเวลา ¼ วินาที ซึ่งจะทำให้การเล่นเป็นไปอย่างยืดหยุ่นมาก รูปแบบของการดีดสายยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก ทางผู้ออกแบบวางแผนไว้ว่าอาจเปลี่ยนจากดีดเป็นสี จิ้ม หรือใช้แท่งแก้วแบบที่มือกีตาร์บลูล์ชอบ และการที่มันเป็นโมดูลลาร์ จึงทำให้สามารถเปลี่ยนรูปแบบของการติดตั้งได้อีก เช่นอาจทำโครงสร้างเป็นแบบพิระมิดโดยติดตั้งแอมป์กับลำโพงเข้าไปด้วย หรือทำเป็นหุ่นยนต์ที่เหมือนมนุษย์มากขึ้น มาเล่นกีตาร์ในรูปแบบที่มนุษย์เองก็ไม่สามารถเล่นได้...
ยังมีสิ่งประดิษฐ์จากทีม Lemur ที่น่าสนใจอีกมากครับ ชมวิดีโอและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.lemurbots.org
สนับสนุนบทความโดย Sound & Stage
0 ความคิดเห็น[+/-] |
Laser Koto ของ Miya Masaoka |
เลเซอร์นั้นมีคุณเอนกอนันต์ครับ นับตั้งแต่ถือกำเนิดจาก Bell Labs ในช่วงปี 1958 ก็มีการพัฒนาจนสามารถนำมาใช้ในวงการแพทย์อย่างการผ่าตัดดวงตาเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ หรือทางทหารก็นำไปใช้ระบุเป้าหมายให้กับ Smart Bomb (อันนี้ไม่สร้างสรรค์เท่าไร) หรือในทางเทคโนโลยีข่าวสารก็นำมาใช้ขนข้อมูลมหาศาลผ่านใยแก้วนำแสงเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ของมนุษยชาติได้อีกต่างหาก และในคราวนี้ มันใช้เวลาหลายทศวรรษกว่าที่ใครคนหนึ่งเห็นว่ามันสามารถใช้แทนสายของพิณญี่ปุ่นที่มีอายุยืนยาวกว่า 1,300 ปี อย่างโกโตะ (Koto) ได้ เธอคนนั้นคือ Miya Masaoka ครับ
นอกจากเธอเป็นนักเล่นโกโตะและนักประพันธ์เพลงแล้ว เธอยังเป็นนักประดิษฐ์อีกด้วย รูปที่เห็นคือเธอใช้ขาตั้ง Tripod เป็นฐานให้กับตัวยิงเลเซอร์ และการเคลื่อนมือผ่านลำแสงจะเป็นการทริกเกอร์เสียงจากคอมพิวเตอร์ Powerbook G4 ของเธอ
รูปแบบของการเล่นดนตรีแบบนี้นั้น ชวนให้นึกถึง Theremin ซึ่งถือเป็นเครื่องดนตรีอิเล็กโทรนิกส์ตัวแรก ๆ ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ผู้เล่น Theremin จะทำการวาดมือทั้งสองบน Antenna มือหนึ่งควบคุม Pitch อีกมือควบคุมระดับความดัง ส่วนเสียงของ Theremin จะมีลักษณะใกล้เคียงไซน์เวฟ แต่มีการสั่นเล็กน้อยเหมือนถูก Modulate Amplitude ด้วย LFO ซึ่งหนังไซไฟในยุคก่อน ๆ นิยมนำเสียงของ Theremin มาใช้ทำ Soundtrack เช่น Forbidden Planet กับ Lost in Space แม้แต่วงร็อคอย่าง Led Zeppelin ก็เคยนำมาใช้เช่นกันครับ
Leon Theremin กับเครื่องดนตรีชิ้นเอกที่เค้าสร้างมันมากับมือ
แต่ Laser Koto มีความแตกต่างกับ Theremin ใน 2 ประเด็น อย่างแรกคือเสียงที่ไม่เหมือนกันเลย เสียงจาก Laser Koto ประกอบไปด้วยเสียงของ Acoustic Koto แล้วยังมีเสียงคล้ายกับแก้วแตกและรัว ๆ เหมือนน้ำไหล อีกประเด็นก็คือการที่ผู้เล่น Theremin จะไม่มีลำแสงสีแดงมีสัมผัสร่างกาย เหมือนกำลังถูกปืนไรเฟิลของหน่วย SWAT หลายกระบอกเล็งอยู่ ซึ่งในตอนที่ Masaoka ไปแสดง Laser Koto ที่ New York City ก็มีจุดสีแดงที่เกิดจากแผงเลเซอร์ ปรากฏอยู่ตามแขนของเธอครับ
จุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีก่อนครับ Masaoka มองเห็นว่าเธอสามารถขยายขอบเขตทางเสียงให้กับเครื่องดนตรีของเธอด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ และได้มีโอกาสพบกับ Tom Zimmerman ผู้เชี่ยวชาญด้าน Human-Machine Interaction ในงานปาร์ตี้ที่ซาน ฟราสซิสโก ตัว Tom Zimmerman นั้นสนใจที่จะทำระบบ VR Control สำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีอยู่แล้ว เมื่อทั้งสองมาเจอกันเป็นผลให้เกิดเครื่องดนตรี Electro-Acoustic ชิ้นแรกของ Masaoka อย่าง “Proto Koto” โดย Zimmerman ได้ติดตัว Infrared Motion Sensor ที่ Koto ของเธอ แล้วทั้งสองก็เริ่มทำการทดลองสร้างเสียงโดยใช้ข้อมูลจากการเล่นกับ Sensor ของ Masaoka มากกว่าที่จะเล่นกับตัวสายพิณตรง ๆ
หลังจากนั้นไม่นานเธอได้เข้าไปทำงานที่ STEIM (the Studio for Electro-Instrumental Music) ในอัมสเตอดัม ที่นั่นเองที่เธอพัฒนา Koto แบบใหม่ให้ดีกว่าเดิม โดยติดตั้ง Motion Sensor และเอฟเฟกต์แบบเท้าเหยียบที่สามารถเชื่อมโยงไปยัง MIDI Interface ได้ โดยนิ้วมือเธอจะใส่ "sensor rings" ซึ่งจะมีสายโยงไปตามแขน เครื่องดนตรีชิ้นใหม่นี้ เธอจะเล่นโดยการดีดสายแบบดั้งเดิม ผสมกับข้อมูลที่ได้จาก Motion Sensor เพื่อสร้างและโปรเซสเสียงใหม่ ๆ ขึ้นมา ซึ่งในตอนหลัง ๆ Masaoka เริ่มติดตั้งแผงเลเซอร์ลงไปที่ด้านบนและด้านล่างของเครื่องดนตรี และต่อมาเธอได้ตัดสินใจโละสายทิ้งให้หมด เหลือเพียงแต่เลเซอร์แต่เพียงอย่างเดียว เป็นจุดเริ่มต้นของ Laser Koto แบบของจริง
Laser Koto รุ่นล่าสุด จะประกอบไปด้วยลำแสง 4 เส้น ซึ่ง Masaoka เรียกว่า "metaphorical strings" และเมื่อมีการสัมผัสลำแสง จะมีการทริกเกอร์การทำงานไปที่โปรแกรมที่เธอเขียนขึ้นด้วย Max/MSP ซึ่งตัวโปรแกรมจะเก็บเสียง Koto ทียังไม่ถูกโปรเซสกว่า 900 เสียงรวมไปถึงเสียงของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในหลาย ๆ สถานที่ที่เธอไปเยือนและบันทึกเก็บไว้ เสียงเหล่านี้จะถูกเล่นออกมาในรูปแบบต่าง ๆ กันไป ขึ้นอยู่กับวิธีการวาดมือและนิ้วของเธอด้วย ซึ่งอย่างไรก็แล้วแต่ มันก็เล่นสนุกได้ง่าย ๆ กว่าการเล่นเครื่อง Koto ของจริงอย่างแน่นอนครับ
ความง่ายนี้เองอาจทำให้นักดนตรีบางท่านแอบเคืองเล็ก ๆ เพราะถ้าง่ายก็หมายความว่าใคร ๆ ก็เล่นได้ แต่ต้องไม่ลืมนะครับ ว่าทั้งหมดนี้เกิดจากพัฒนาการของเทคโนโลยี ถ้าหากท่านใช้โทรศัพท์มือถือ ดูหนังดีวีดี หรือแม้แต่ฟังเพลงจาก MP3 แล้วล่ะก็ อย่าตำหนิ “เทคโนโลยี” เลยครับ ตำหนิที่ตัว “คน” หรือ“ตัวเอง” ที่ไม่เปิดใจกว้างยอมรับเทคโนโลยี ทั้งที่ใช้มันเป็นประจำในชีวิตประจำวันดีกว่า
ที่มา Wired.com
เยี่ยมชมเว็บและวิดีโอสาธิตได้ที่ http://www.miyamasaoka.com
สนับสนุนบทความโดย Sound & Stage
laptop, laser, maxmsp, musical instrument
0 ความคิดเห็น[+/-] |
Sound Rose: Tangible-Acoustic Interface |
Interactive Sound Installation ที่ชื่อว่า “Sound Rose” อาจดูไม่น่าตื่นเต้นมากนักเมื่อนำไปเทียบกับงานประเภทเดียวกัน แต่ความน่าสนใจของมันอยู่ที่อินเตอร์เฟซใหม่ล่าสุดที่พัฒนาโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากยุโรป เรียกว่า “Tai-Chi” (Tangible Acoustic Interfaces for Computer-Human Interaction)
อธิบายอย่างคร่าว ๆ มันประกอบด้วย Piezoelectric sensors ขนาดเล็ก ๆ มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป (ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้ 4 ตัววางอยู่รอบมุมโต๊ะ) ไว้คอยจับการสั่นสะเทือนของโต๊ะ จากนั้นทีมพัฒนาจะสร้างฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่นิ้วจิ้มลงบนโต๊ะ กับแรงสั่นสะเทือนที่ Sensors แต่ละตัวจับได้ ด้วยวิธีนี้ทำให้เราสามารถเปลี่ยนพื้นผิวทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นผนัง กำแพงหรือบนโต๊ะ มาเป็นระบบจับการสัมผัส หรือใช้แทนเมาส์-คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งข้อดีก็คือผนังหรือกำแพงนั้น ทำความสะอาดง่ายและไม่เก็บฝุ่นเหมือนกับคีย์บอร์ดปกติครับ มันจึงเหมาะแก่การนำไปใช้ในสถานที่พิเศษอย่างในโรงพยาบาล หรือนำไปสร้าง Interactive Installation เพื่อความบันเทิงแบบเดียวกับตัวอย่างที่ยกมาแนะนำในตอนนี้
Sound Rose คือรูปแบบง่าย ๆ ที่นำ Tai-Chi มาใช้เป็น Human Interface ครับ ผู้เล่นแค่จิ้มนิ้วลงไปบนโต๊ะ จะเกิดภาพคล้าย ๆ ดอกกุหลาบพร้อมกับเสียง ภาพอาจมีการวิ่งไปวิ่งมาได้ ซึ่งถ้าไปกระทบผนังก็เกิดเสียงจากการกระทบเช่นกัน ผู้เล่นจะมีความรู้สึกสนุกแบบเดียวกับที่เล่นดนตรี โดยที่ไม่ต้องเรียนรู้วิธีการเล่นให้เสียอารมณ์เหมือนอย่างเครื่องดนตรีอื่น ๆ ขอแนะนำให้ชมวิดีโอสาธิตจะเข้าใจรูปแบบการเล่นมากกว่าแค่อ่านตัวหนังสือครับ
รายละเอียดเพิ่มเติมของ Tai-Chi http://www.taichi.cf.ac.uk
ที่มา http://www.newscientisttech.com
Sound & Stage สนับสนุนข่าว
0 ความคิดเห็น
[+/-] |
ทดสอบ EMU 1616M PCMCIA Audio Interface มาคราวนี้ครบเครื่องกว่าที่เคย... |
PCMCIA หรือ Cardbus แม้ไม่ใช่อินเตอร์เฟซที่นิยมใช้ทำเป็นออดิโออินเตอร์เฟซ แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีเลยในท้องตลาด เหตุผลสำคัญคือการที่มันมีอยู่บนคอมพิวเตอร์แลปท๊อปเท่านั้น และไม่ใช่ทุกรุ่นที่มี โดยเฉพาะแลปท๊อปรุ่นใหม่ ๆ ราคาถูกนั้น เริ่มตัดมันทิ้งไปบ้างแล้ว เนื่องจากอุปกรณ์สำคัญถูกนำไปบรรจุบนเมนบอร์ดเรียบวุธ และถ้าท่านผู้อ่านจะพลิกผ่านหน้านี้ไป เพราะเข้าใจว่ามันไม่น่าสนใจที่อินเตอร์เฟซ PCMCIA ก็ขอให้ช้าลงก่อนครับ ด้วยเหตุผลอย่างแรก คือการที่มันมีหลายส่วนที่แก้จุดอ่อนของรุ่น 1820 ไม่ว่าจะเป็นอินพุทที่ครบเครื่อง มี High Impedance สำหรับกีตาร์ Stereo Phono สำหรับต่อจาก Turntable ไมค์ปรีแอมป์และไลน์แบบปกติ และตบท้ายด้วยวงจรลิมิตเตอร์ที่ภาคอินพุท เราจึงจะได้ลักษณะของเสียงแบบอนาลอกจริง ๆ ที่ออดิโออินเตอร์เฟซส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีมาให้ 1616 ยังสนับสนุนแซมเปิ้ลเรทที่ 88.2 และ 176.4 kHz ด้วย (ผู้ใช้ EMU รุ่นอื่น ๆ ต่างเรียกร้องมานานนับปี)
ยังกังวลถึงเรื่องอินเตอร์เฟซ PCMCIA อยู่ใช่ไหมครับ? ความจริงแล้วรุ่น 1616M มีแบบ PCI ให้เลือกใช้ด้วย หรือถ้าต้องการใช้แบบ PCMCIA บนเครื่อง Desktop เราก็ยังสามารถใช้ตัวแปลงราคาประมาณพันนิด ๆ มาใช้ได้ด้วย ช่วยให้เราสามารถนำมาใช้สลับไปสลับมาระหว่างเครื่อง Desktop กับเครื่อง Laptop ได้ด้วย
ยังมีเหตุผลในเรื่องของคุณภาพ ซึ่งถือว่าโคลนรุ่น 1820 มาเลย ไม่ว่าจะเป็นวงจร ADC (Analog to Digital Converter) คุณภาพสูง ความละเอียด 24 บิต 192 kHz มี Jitter ของสัญญาณนาฬิกาต่ำมาก รวมถึง DSP Effect ที่หลายคนอาจคิดว่าอินเตอร์เฟซแบบ PCMCIA นั้นไม่มีให้ เพราะ DSP Effect จะโหลดไว้ที่ตัว Docking ฺBay (Microdock) อยู่แล้ว แต่ที่ไม่ได้เอามาหมดก็คือเรื่องของจำนวนอินพุท เอาท์พุทที่จะมีน้อยกว่ารุ่น 1820
ก็อย่างที่หลายคนทราบข้อมูลเกี๋ยวกับอินเตอร์เฟซของ EMU มาก่อนแล้ว นั่นก็คือการที่รหัส m ที่อยู่ตามหลังตัวเลข 1616 นั่นคือการที่รุ่น m จะมี ADC แบบเดียวกับรุ่นยอดธงของ Digidesign Protools HD192 ขณะที่รุ่นไม่มี m จะใช้ Converter ที่ต่ำกว่า คือได้ Signal to Noise Ratio ประมาณ 110 dB ขณะที่รุ่น m จะได้ถึงประมาณ 120 dB แต่ทั้งสองรุ่นก็มี Jitter ของสัญญาณนาฬิกาต่ำ และรายละเอียดส่วนอื่นเหมือนกันทุกอย่าง ส่วนราคาของนั้นต่างกันประมาณนึง สอบถามไปทางตัวแทนจำหน่ายบ้านเราจะนิยมนำมารุ่น m เข้ามา เพราะคนทำงานบันทึกเสียงมักจะต้องการของที่ดีที่สุดเสมออยู่แล้วครับ
ภาพรวมของ 1616M
จากที่เห็นในภาพครับ ตัว 1616M จะประกอบไปด้วยการ์ด PCMCIA (02 Cardbus) เป็นตัึวอินเตอร์เฟซต่อเข้าแลปท๊อป และตัว Docking Bay ทำหน้าที่เป็นอินพุท เอาท์พุทให้ระบบ ตัว Dock กับการ์ดจะเชื่อมต่อกันด้วยสายแลนหัวต่อ CAT5 หรือที่เราใช้ต่อระบบแลน (LAN-Local Area Network) ในบ้านนั่นเองครับ ทีเด็ดอีกอย่างก็คือ หากเราไม่ต้องการใช้อินพุท-เอาท์พุทมากมายที่ตัว Dock เราสามารถถอดตัว Dock ออก ใช้เฉพาะตัวการ์ดซึ่งจะมีเอาท์พุทสำหรับต่อไลน์/เฮดโฟนมาให้ เราจึงสามารถนำมันออกไปใช้ทำงานคู่กับแลปท๊อปที่ไหนก็ได้
ด้านหลังของ Microdock เราจะเห็น Phono In อยู่หนึ่งคู่พร้อม RIAA Equalisation สำหรับรับสัญญาณจาก Turntable
ด้านหน้าของ Microdock จะมีอินพุทสำหรับไมค์/กีตาร์/ไลน์ สองช่องโมโน (Combo Jack: TRS+XLR) ขณะที่ด้านหลัง นอกจากจะมีอินพุทแบบ Balanced TRS 2 ช่องสเตอริโอ (4 x TRS) แล้วยังมีอินพุทสำหรับ Turntable อย่างที่เรียนไว้ตั้งแต่แรก ในภาคเอาท์พุทจะเป็นแบบ Balanced 6 ช่อง และยังมีเอาท์สำหรับเฮดโฟนอยู่ทางด้านหน้า พร้อมปุ่มควบคุมความดัง (ซึ่งปุ่มนี้จะถูกใช้เป็นปุ่มเปิดปิดการทำงานของ Microdock ด้วยครับ) ระบบ I/O อื่น ๆ ก็มี MIDI I/O หนึ่งคู่ S/PDIF Coaxial I/O หนึ่งคู่ ADAT อีกหนึ่งคู่ โดยจะมีปุ่มให้เราคอยสลับไปใช้รับส่ง Toslink Optical S/PDIF ด้วยได้ด้วย ถือว่าเป็นระบบการทำงานที่ครบถ้วนอย่างที่ Project Studio ต้องการครับ
ขอกลับมาขยายความในส่วนของอินพุททั้งสองช่องทางด้านหน้านิดนึงครับ มันไม่เพียงแต่มี 48V Phantom Power สำหรับไมค์คอนเดนเซอร์ผ่าน Balanced XLR Socket แค่นั้น แต่การที่มันเป็น Combo Jack มันจึงสามารถรับหัวต่อ 1/4” TRS ได้ทั้งแบบ Balanced และ Unbalanced หรือหากว่าเราต้องการต่อกีีตาร์เพื่อบันทึกเสีียง ก็ยังสลับไปใช้อิมพีแดนซ์ขนาด 1 เมกะโอมได้ด้วย ตัวพรีแอมป์นั้นออกแบบใหม่โดย EMU เอง (รุ่นเดิมใช้ของ TF Pro Circuity) ได้นอยส์ที่ต่ำมาก และพิเศษสุดคือมีสวิตซ์สับให้เราเลือกใช้ Soft-Limiting เพื่อป้องกันการ Cliping และสร้างเอฟเฟกต์พิเศษให้กัับเสียง เมื่อเราขับมันแรง ๆ ครับ ในส่วนของ Line Input และ Output ทั้งหมด เราสามารถเลือกปรับที่ซอฟต์แวร์ ว่าจะให้เป็น +4 (Pro) หรือ -10 (Consumer) ได้ด้วย
หากเราจะเปรียบกับ 1820 แล้ว 1616 จะขาดอนาลอกอินพุทเอาท์พุทไปอย่างละ 1 คู่ ไม่มีพอร์ท FireWire และ S/PDIF Optical Out รวมไปถึงฟังก์ชัน Sync ด้วย (Wordclock I/O, SMPTE I/O และ MTC Out) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่าการที่มันมี High Impedance Input สำหรับกีตาร์, Soft-Limiting และสนับสนุนแซมเปิ้ลเรทได้ครบกว่านั้น ยังน่าสนใจสำหรับนักดนตรีส่วนใหญ่มากกว่า เพราะแค่ Microdock ที่จัดการ I/O ได้ถึง 16 อิน 16 เอาท์ นั้นเพียงพอแล้ว ในการทำงานเพลงทั่วไป และออกจากมาก เมื่อเทียบกับรูปร่างเล็กกะทัดรัดของมันเสียด้วยซ้ำครับ ถ้าได้เห็นรับรองว่าจะต้องหลงรักมันในแบบเดียวกับผู้เขียนเป็น
02 Cardbus และ Microdock
ขนาดของมันนั้นพอ ๆ กับการ์ด Indigo ของทาง Echo เลยล่ะครับ คือมันจะมีส่วนที่ยื่นออกมาจากแลปทีอปนิดหน่อยเท่านั้น ที่ชอบมากคือทาง EMU ได้แนบปลอกหนังสีดำมาเพื่อให้เราพก 02 Cardbus ลุยไปทุกที่ ที่ไม่ชอบอย่างหนึ่งคือสายเชื่อมต่อระหว่างตัว Docking กับตัว Cardbus นั้นมีขนาดสั้นแค่ 1 เมตร ซึ่งสั้นกว่ารุ่น 1820 แต่ถ้าคิดในอีกแง่หนึ่ง มันจะสะดวกมาในการพกพา และนักดนตรีแลปท๊อปคงไม่ต้องการใช้งานสายที่ยาวมาก (หรือถ้าต้องการยาว ๆ ให้หาสายแลน EDI ที่ยาวกว่านั้นหน่อย มาใช้แทนได้ครับ) และก็อย่างที่เรียนในตอนแรก เราสามารถใช้งานเฉพาะ Cardbus เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องต่อเข้ากับ Dock ได้ด้วย
ในส่วนของ Microdock นั้น ออกแบบมาได้เล็กกว่า Audiodock นิดหน่อยครับ คือจะมีขนาดประมาณ 7.25 x 7.75 x 1.63 นิ้วแค่นั้น แต่หน้าตานั้นเหมือนกัน และเมื่อเราเปิดการทำงานของ Dock ตัวอักษร E ของคำว่า EMU จะมีไฟ LED สีฟ้าติดไว้ด้วย
การติดตั้ง
อย่างที่หลายคนทราบอยู่ก่อนแล้วว่าออดิโออินเตอร์เฟซของทาง EMU นั้น จะใช้ได้บนระบบปฏิบัติการ Windows แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เว้นแม้แต่ 1616M การติดตั้งก็ตรงไปตรงมาครับ ให้เราปิดเครื่องก่อน แล้วจึงเสียบตัว Cardbus ลงไป พร้อมเมื่อไรจึงเปิดเครื่อง จะมี New Hardware Wizard ขึ้นมาถามหาไดร์เวอร์ของอุปกรณ์ตัวใหม่ ให้เรา Cancle มันทิ้งไปก่อนที่จะรันไฟล์ Setup จากแผ่น CD-ROM ที่ติดมา การติดตั้งจะมีเมนูให้เลือกภาษาของทางฝั่งยุโรปเค้า 5 ภาษา จุดสำคัญคือการเลือกติดตั้งแบบเต็มหรือแบบ Custom ซึ่งประกอบไปด้วยซอฟต์แวร์ Patchmix DSP, คู่มือและไดร์เวอร์ หรือจะติดตั้งไดร์เวอร์อย่างเดียว
การติดตั้งแบบปกติ หลังจากรีสตาร์ทเครื่องแล้วก็ไม่มีปัญหาใด ๆ สำหรับตัวผู้เขียนเอง โดยมันจะมีไอคอนของโปรแกรม Patchmix DSP โหลดขึ้นมาพร้อมกับ Windows Startup ด้วย เราสามารถเลือกตั้งค่าที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการทำงานของเรา เช่นกำหนดอินพุท เอาท์พุทที่จะใช้ ค่าแซมเปิ้ลเรท ฯลฯ และก็พร้อมจะทำงานได้เลย เพราะขั้นตอนนี้ โปรแกรมดนตรีทุกตัวจะเห็นไดร์เวอร์ของ 1616M ทั้ง Audio และ MIDI เรียบร้อย
ซอฟต์แวร์ Patchmix DSP
นอกจากเสียงที่ใสคมชัดของ EMU แล้ว สิ่งที่ผมชอบมากที่สุดเกี่ยวกับอินเตอร์เฟซของ EMU ก็คือซอฟต์แวร์ Patchmix DSP นี่ล่ะครับ มันช่วยให้ระบบการทำงานของเรายืดหยุ่นมาก ๆ แม้ว่าข้อเสียของมันคือทำให้ผู้ใช้สับสนในตอนแรก แต่พอใช้งานอย่างเข้าใจแล้ว มันคือเครื่องมือที่ทำให้อินเตอร์เฟซของ EMU ต่างจากผู้ผลิตรายอื่น คิดง่าย ๆ ว่าเหมือนกับการที่เรามีฮาร์ดแวร์ดิจิตอลมิกเซอร์แยกออกมาต่างหากอีกอัน เราสามารถส่งเสียงออกจากซอฟต์แวร์ตัวโปรด มายังมิกเซอร์ตัวนี้ แล้วใช้ On-board Effect ของมิกเซอร์ได้อย่างเต็มที่ (ไม่ใช้ CPU ของเครื่องเลยแม้แต่น้อย) ก่อนที่จะส่งเสียงกลับไปยังซอฟต์แวร์ตัวเดิมอย่างไม่สูญเสียกำลังสัญญาณ เพราะเป็นดิจิตอล เรายังสามารถทำการมอนิเตอร์ของสัญญาณหรือส่งสัญญาณออกจากจุดใดจุดหนึ่งของมิกเซอร์ได้ด้วย ที่ชอบมากคือ Tone Generator ผู้เขียนมักใช้มันทดสอบระบบการทำงานได้ทันที โดยไม่ต้องโหลดซอฟต์แวร์ตัวอื่นให้ยุ่งยาก ข้อด้อยของเอฟเฟกต์ก็ยังเหมือนเดิมครับ คือ Graphic User Interface ยังทำมาได้เรียบ ๆ ไม่ใช้ประโยชน์จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เต็มที่ ซึ่งถ้าเป็นมือเก๋า ๆ หน่อย คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะใช้การฟังเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นมือใหม่ที่ติดกับการใช้โปรแกรมที่แสดงผลออกมาให้ดูเป็นกราฟฟิกง่าย ๆ แล้ว จะรู้สึกว่ามันไม่น่าใช้เท่าไร และอีกข้อด้อยของเอฟเฟกต์อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องการที่มันสนับสนุนแซมปลิ้งเรทสูงสุดที่ 48 kHz เหมือนกับรุ่นอื่น ๆ ของ EMU ครับ หากงานของเราบันทึกมามากกว่านี้ จะไม่สามารถส่งมาใช้งานเอฟเฟกต์ได้ (1616M สนับสนุนแซมปลิ้งเรทได้สูงสุดถึง 192 kHz) เอฟเฟกต์ต่าง ๆ เหล่านี้ เรายังใช้มันเป็น VST Plugin โดยไม่ต้องโหลดลง Patchmix DSP ได้ด้วยนะครับ แต่ด้วยเหตุผลด้านแซมปลิ้งเรท ผู้เขียนจึงไม่ค่อยได้มีโอกาสใช้มันเท่ากับปลั๊กอิน Native ตัวอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องเดียวกัน
1616M เป็นอินเตอร์เฟซของ EMU ตัวแรกที่สนับสนุนแซมเปิ้ลเรทที่ 88.2 และ 176.4 kHz ในหน้า Session Template จึงมาการแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 44.1/48 kHz, 88.2/96 kHz และ 176.4/192 kHz พร้อม Template ใหม่ ๆ อีกมากมาย
ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานบนระบบดิจิตอลหรือผู้ที่เข้าใจกระบวนการของ DSP คงจะเข้าใจได้ว่า หาก Sample Rate สูงขึ้น ก็หมายความว่าการคำนวณจะต้องเพิ่มมากขึ้นในอัตราส่วนที่เท่ากัน กรณีของ Patchmix DSP จะมีการลดจำนวนช่องสัญญาณ ASIO ลง จากเดิม 16ช่อง จะเหลือ 8 ที่แซมเปิ้ลเรท 88/96 kHz และจะเหลือเพียงแค่ 4 ที่ 176/192 kHz และยังลดจำนวนของ Physical I/O (I/O ที่อยู่บน Dock ไม่ใช่ I/O ภายในซอฟต์แวร์) เหลือเพียง 4 x 10 และจะใช้ S/PDIF Optical I/O ไม่ได้เลย
ซอฟต์แวร์ Patchmix DSP คราวนี้นั้น ทำงานเหมือนกับรุ่น PCI ทุกอย่างครับ เพิ่มเอฟเฟกต์เข้ามาอีกนิดหน่อย ที่จะช่วยลดการทำงานของ CPU บนแลปทอปลงด้วยครับ โดยเฉพาะหากเป็นแลปทอปที่ไม่ค่อยแรงด้วยแล้ว จะมีประโยชน์มาก ๆ หรือในกรณีที่เราต้องการใส่รีเวิร์บในตอนมอนิเตอร์มิกซ์โดยไม่มีดีเลย์เลย
เกือบลืมพูดถึงซอฟต์แวร์ตัวอื่น ๆ ในชุดที่ให้มาครบถ้วน พร้อมทำงานดนตรีได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น Cakewalk Sonar LE, Steinberg Cubase LE, Wavelab Lite, Ableton Live Lite 4 for EMU, IK Multimedia T-Racks Eq และ Amplitube LE , Minnetonka Discwelder Bronze, SFX Machine LT และ EMU Proteus X LE ตัวนี้เป็น Emulator IV/Proteus 2000 ในเวอร์ชันซอฟต์แวร์
ลงมือกันจริง ๆ เสียที
เนื่องจากเคยได้มีโอกาสใช้ 1820m มาระยะหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้สัมผัส 1616M อีกครั้ง และแม้ไม่ได้ทำงานเพลง แต่ผู้เขียนก็ยังโหลดเปียโนตัวโปรดขึ้นมาเล่นทุกวัน ลักษณะเสียงนั้นคุ้นเคยและเหมือนกันมากโดยความรู้สึก คือเหมือนกันจนแทบจะแยกไม่ออก ยกเว้นเสียแต่บันทึกด้วยไมค์ เพราะ 1616M นั้นเป็นพรีไมค์ตัวใหม่ พร้อมกับ Soft-Limitor ที่ให้เอกลักษณะของเสียงแตกต่างจากดิจิตอลอย่างชัดเจน ไม่แข็งกระด้าง เรายังสามารถใช้มันขับสัญญาณจนเกิดการ Clipping เพื่อสร้างเอฟเฟกต์ให้กับเสียงได้ด้วย
เลือกใช้ฟังก์ชัน Soft Limit ด้วยซอฟต์แวร์ ผ่านหน้า Session Setting
รูปซ้ายแสดงสัญญาณอินพุท ส่วนรูปขวาแสดงสัญญาณอินพุทที่ผ่าน Soft Limiter ของ 1616M (ภาพจาก SOS ฉบับ October 2005)
ผลการทดสอบจากโปรแกรม Right Audio Analyser นั้นให้ผลเหมือนกับ 1820M เลยครับ ทำไดนามิกเรนจ์ได้ถึง 117 dBA ที่แซมเปิ้ลเรท 44.1 kHz และจะได้ถึง 118 dBA ที่ 96 kHz และ 192 kHz ค่า THD-Total Harmonic Distortion ก็ต่ำแค่ 0.0005% Stereo Crosstalk -118 dB และก็ยังมีการตอบสนองที่ลดลงในช่วงความถี่สูงเช่นเดิม แต่ก็ถือว่าน้อยกว่ารุ่น 1820m อีกครับ คือประมาณ -0.2 dB ที่ 20 kHz แต่หากใช้แซมเปิ้ลเรท 96 kHz ตัวเลขนี้จะมากขึ้นเป็น -1 dB ที่ 43 kHz และหากเราใช้แซมเปิ้ลเรท 192 kHz เราจะได้ผลที่คล้ายกันคือมีการลดทอนลงมา – 1 dB ที่ประมาณ 30 kHz ครับ ถ้าเราไม่ซีเรียสจนเกินไป ตัวเลขที่เกินมาทั้งหมดก็คือว่าไม่สำคัญเท่าไรนัก เพราะข้อมูลของเสียงที่สำคัญ ๆ จะอยู่ต่ำว่า 16 kHz ลงมาอยู่แล้วครับ
ประสิทธิภาพของไดร์เวอร์
ผู้เขียนทดสอบกับโน้ตบุคหลายเครื่อง รวมถึงเครื่อง Desktop ด้วย ซึ่งเป็นเครื่องที่มีอายุการใช้งานประมาณปีถึง 2 ปี ค่าความหน่วงที่เล่นได้โดยไม่มีเสียงแปลกปลอมจะอยู่ที่ประมาณ 2-4 ms ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ซินธ์ที่ใช้ บน Desktop ที่ใช้เล่นเปียโนเป็นประจำจะได้ประมาณ 6 ms (ใช้ตัวแปลง PCI-PCMCIA) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในการทำงาน Muti-track ด้วยครับ ถือว่าทำได้ดีมากทีเดียว เพราะถ้าต้องการมากกว่านี้ ขอแนะนำให้ใช้การ์ดตระกูล PCI ของทาง RME จะได้ค่าความหน่วงที่สะใจมาก
ลองทดสอบประสิทธิภาพของ MIDI ด้วยโปรแกรม MidiTest <http://earthvegaconnection.com/> ก็ได้ผลที่ดีพอสมควรครับ ไดร์เวอร์ MME MIDI ได้ค่าความหน่วงของ MIDI ประมาณ 1.05 ms Jitter ที่ประมาณ 0.22 ms ขึ้นสูงสุดที่ 0.82 ms ซึ่งก็ถือว่าสูสีกับอินเตอร์เฟซแบบ PCI โดยทั่วไป และถือว่าดีกว่าอินเตอร์เฟซแบบ USB และ FireWire ซึ่งจะมี Latency ของ MIDI อยู่ที่ประมาณ 4 ถึง 10 ms และค่า Jitter ก็จะมากกว่าคือประมาณ 0.5-4 ms ด้วยวิธีการทดสอบแบบเดียวกัน
แต่ที่น่าเซ็งสำหรับสาวกเกมวินนิ่งอิเลฟเว่นคือการที่ EMU ยังไม่ได้แก้ไขไดร์เวอร์ WDM แบบ Multi-Channel ทำให้การเล่นเกมนี้ด้วยการ์ดของ EMU จะไม่มีเสียงบรรยายนอกเสียจากเสียงบรรยากาศ, ซาวน์เอฟเฟกต์และดนตรีครับ และสำหรับคนที่ใช้ Sampler อย่าง GigaStudio 3 ก็ต้องใช้ผ่าน ReWire ครับ เพราะมันไม่สนับสนุนไดร์เวอร์แบบ GSIF เหมือนพี่น้องของมัน เข้าใจได้โดยง่ายว่า GS3 ถือเป็นคู่แข่งของ Emulator X ของทาง EMU เลยไม่จำเป็นต้องสนับสนุน
เก็บใส่กล่อง
หลังจากที่มีโอกาสอยู่กับมันนานหลายเดือน ก็ได้เวลาคืนเจ้าของเสียที นั่งนึกหาเหตุผลที่ว่าทำไมถึงต้องมี 1616M ท่ามกลาง FireWire Interface ที่ยึดหัวหาดอยู่ในขณะนี้ เหตุผลก็คงเป็นเรื่องของประสิทธิภาพที่ดีกว่าทั้งเรื่องของ Audio-MIDI อีกด้วยครับ เรื่องคุณภาพเสียงของ 1616M นั้นถือว่าดีมาก ๆ ยิ่งนำมาเทียบกับราคาของมันแล้วนั้น ก็หาอะไรมาเทียบได้ยาก ถ้านับ Features พิเศษอย่าง Soft-Limiter, Turntable Preamp และ DSP Effect ด้วยแล้ว ก็ตัดคู่แข่งที่เราจะนำมาเปรียบเทียบไปได้เลย และที่ถือว่าน่าเสียดายไม่น้อย คือการที่มันไม่สนับสนุน Mac OS ที่คนดนตรีบ้านเราใช้กันเยอะพอควร ราคาของ 1616M ในบ้านเรานั้น เท่ากับราคาของ 1820M เลย (ประมาณ 29,500 บาท) ก็เป็นการชั่งใจแล้วล่ะครับ ว่า Features ต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามาเติมเต็ม 1616M ให้สมบูรณ์กว่า แลกกับการที่ต้องลดจำนวนอินพุท เอาท์พุทและฟังก์ชัน Sync ลงไปบ้างนั้น แบบไหนที่จำเป็นต่อเรามากกว่า เพราะ 1616M เองก็มีรุ่นที่เป็น PCI หรือเราสามารถเพิ่มเงินอีกพันบาทสำหรับตัวแปลง PCMCIA-to-PCI มาใช้บนเครื่อง Desktop ได้เช่นกันครับ ถ้าไม่ต้องการฟังก์ชัน Sync และ I/O มากมายแล้วล่ะก็ หยิบ 1616M ไปใช้แทนกันได้เลย!!
ขอขอบคุณ Music Craft <http://www.musiccraft.com>
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงใน The Absolute Sound & Stage
ข้อมูลฉบับย่อของ EMU 1616M
● สนับสนุนแซมเปิ้ลเรทที่ 44.1, 48, 88.2, 96, 176.4 และ 192 kHz จาก Internal Clock
● อินพุทสำหรับไมค์/กีตาร์/ไลน์ 2 ช่อง Combo Jack (Balanced XLR พร้อมสวิตซ์สำหรับไฟ 48V Phantom Power มีระยะเกน 0-65 dB และ TRS Balanced/Unbalanced 1/4” มีระยะเกน -15 ถึง 50 dB อินพุทอิมพีแดนซ์ 1 เมะกะโอมและซอฟต์ลิมิตเตอร์
● อินพุทสำหรับ Turntable: 1คู่ Phono อิมพุทอิมพีแดนซ์ 47 กิโลโอม/220 พิโคฟารัด มี ความไว 15mV RMS
● อนาลอกอินพุท: 4 ช่อง Balanced/Unbalanced Line Level TRS Jack ที่ความไว -10 dBV หรือ +4 dBu
● อนาลอกเอาท์พุท: 6 ช่อง Balanced/Unbalanced 1/4” TRS Jack ที่ -10 dBV หรือ +4 dBu สัญญาณจะถูกสำเนามายัง 3.5mm Mini Jack ออกเป็นสเตอริโอ 3 ช่อง เฮดโฟนเอาท์พุทที่การ์ดและที่ Microdock โดยที่ Dock จะมีปุ่มควบคุมความดังให้ด้วย
● Digital I/O: S/PDIF I/O, ADAT Optical (เปลี่ยนไปใช้โปรโตคอล S/PDIF ได้) และ MIDI I/O
● DSP Core Effect: 1-Band Parametric, 1-Band Shelf, 3-Band EQ, 4-Band EQ, Auto-Wah, Chorus, Compressor, Distortion, Flanger, Frequency Shifter, Leveling Amp, Lite Reverb, Mono Delay (100, 250, 500, 750 และ 1500), Stereo Reverb, Vocal Morpher
● Converter: AKM AK5394 ADC และ CS4398 Cirrus Logic DAC (รุ่น 1616M), PCM1840 ADC และ CS4392 DAC (รุ่น 1616)
● ไดนามิกเรนจ์: 120 dBA (1616M อนาลอกอินพุทและเอาท์พุท) 110 dBA (1616)
● RMS Jitter: 596 พิโควินาที ที่ 44.1 kHz โดยใช้ Internal Crystal, 795 พิโควินาทีโดยใช้ Optical Input
● การตอบสนองต่อความถี่: 20 Hz ถึง 20 kHz +0/-0.03 dB
● THD+Noise: -105 dB (0.0006%) ทดสอบด้วยสัญญาณ 1 kHz ที่ -1 dBFS
PCMCIA Chip ที่ทดสอบแล้วว่าใช้งานได้ (รุ่นอื่น ๆ ก็อาจใช้ได้ แต่ยังไม่ได้ทดสอบ)
■ ENE Technology CD-1410
■ 02 Micro OZ 6912/711E0
■ 02 Micro OZ711EC1
■ Ricoh R/RL/RT/RC/5C475 (II), R5C520
■ TI PCI-1420, PCI-1450, PCI-1520
audio interface, E-MU, laptop, pcmcia, review
0 ความคิดเห็น[+/-] |
Xbox360 VS PS3 VS Wii |
ด้วยอาชีพการงานแล้ว ทำให้ผมต้องคอยติดตามข่าวสารในวงการเกมอยู่เสมอ เชื่อว่า Passionsonian หลายท่านคงหลงใหลกับสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน ก็เลยนำสเปคคร่าว ๆ ของเครื่องทั้ง 3 รุ่นมาฝาก งานนี้ดูเหมือน PS3 จะมีสเปคดีสุด แต่ความสนุกของเกมไม่ได้ขึ้นกับสเปคและภาพสวย ๆ แต่เพียงอย่างเดียว Wii เปิดตัวไปแค่ 2 อาทิตย์ ก็ขายได้ 1 ล้านเครื่องแล้ว ได้ข่าวว่าคนแถวนี้จะไปถอยมา ใช่ไหม BrIgHTt?
Xbox 360 vs. PlayStation 3 vs. Nintendo Wii: A Technical Comparison
0 ความคิดเห็น[+/-] |
อีกหนึ่งวิดีโอสาธิต DSMIDIWIFI |
ถือว่าค่อนข้างฝืนพอควรครับ ที่นำมาเล่นเป็นคีย์บอร์ดแบบนี้ แต่ถ้าใครได้ลองเล่นด้วยตัวเอง จะเห็นความสนุกเล็ก ๆ น้อย ๆ จากมัน parad0x คนทำวิดีโอนี้ยังสาธิตการเซตอัพ DSMIDIWIFI บน Linux เล่นกับ FluidSynth
ในเมืองไทย นอกจากคุณ kijazz แล้ว ผมยังไม่เคยเห็นใครเล่น Linux Music เลยนะ หรือมีอีก?
0 ความคิดเห็น[+/-] |
“Replicant” จาก Audio Damage :Beat Repeat ในแบบฉบับที่เข้าใจง่าย |
Chris Randall บรรณาธิการของ Analog Industries และรองประธานของ Audio Damage ผู้ผลิตซอฟต์แวร์อินดี้เคยกล่าวไว้ว่า Beat Repeat บน Ableton Live นั้นน่าสนุกดี เพียงแต่มันเหมาะสำหรับคนเยอรมันเท่านั้น!! Audio Damage ก็เลยทำซอฟต์แวร์แนวคิดเดียวกัน กล่าวคือมีระบบการหั่นเสียงและนำมาเรียงลำดับใหม่ ผลลัพธ์ก็คือเสียงรัว ๆ แบบ Stutter ที่นิยมเล่นกันในช่วงหลัง ๆ สิ่งที่แตกต่างก็คือระบบกลไกเวลาที่เข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิม พร้อม Resonant Filter, Pan Position, Bit Reduction และระบบการสุ่มที่สะใจกว่า
ชมภาพ Screenshot แล้วยอมรับว่าน่าจะใช้ง่ายกว่า Beat Repeat จริง ๆ เพราะรูปแบบเหมือนกับเครื่องดนตรี ขณะที่ Beat Repeat นั้นเหมือนเครื่องมือของนักคณิตศาสตร์มากกว่า แต่ผมรักคณิตศาสตร์นะ...
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง http://www.analogindustries.com, http://www.audiodamage.com
0 ความคิดเห็น[+/-] |
เปลี่ยนโฉมคีย์บอร์ดเพื่อ Ableton Live |
นำภาพสวย ๆ มาฝากชาว DIY ครับ คีย์บอร์ดของ Apple ได้ถูกเปลี่ยนสีปุ่มต่าง ๆ สำหรับนำมาทริกเกอร์ Live โดยเฉพาะ ลองเข้าไปชมรูปทั้งหมดที่ flick ได้เลย
flickr set: Custom keyboard for Ableton Live
แนวคิดไม่เลวเลยครับ แทนที่จะซื้อ Controller แพง ๆ ก็นำ QWERTY คีย์บอร์ดเก่าเก็บมาทาสีใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้นั้น น่าใช้มาเล่นบนเวทีมากกว่าคีย์บอร์ดเดิม ๆ เยอะ ก็เรากำลังแสดงดนตรีนิ ใหม่ใช่เขียนอีแมวหาแฟน อิอิ...
ที่มา CDM, Ableton Live Forum
0 ความคิดเห็น